Friday, September 13, 2019

น้ำมันเครื่องสูตร LSPI คืออะไร เรื่องใหม่จริงเหรอ

Low speed pre-ignition คือการจุดระเบิดผิดจังหวะ คือจุดระเบิกก่อนจังหวะ โดยเกิดจากการที่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องยนต์​ที่มีกำลังอัดสูง และอีกทั้งยังใช้ระบบอัดอากาศ​แบบ Turbo เข้ามาเพื่อให้ได้กำลังที่มากแต่ประหยัดพลังงาน



ซึ่งอาจจะเป็นเรื่อง​ใหม่สำหรับงานหล่อลื่นของรถบ้าน แต่ถ้าในแวดวงรถแข่งมันก็เกิดขึ้นนานแล้ว และก็มีแนวทางป้องกันที่ได้คิดค้นออกมาแล้ว
คลิปนี้อธิบายเรื่อง LSPI ว่าเกิดได้ยังไง
https://www.youtube.com/watch?v=KUcZFeoYd5I

ผู้ร้ายที่ก่อให้เกิด LSPI
ก็คือสารเติมแต่งประเภทสารชะล้าง ถ้าอ้างอิงจาก ข้อมูลของผู้ผลิตสารเติมแต่งน้ำมันหล่อลื่นรายใหญ่ (Chevron -​Oranite) ได้ชี้เป้าไปที่สาร Calcium ซึ่งเป็นสารที่ใช้เป็นสารชะล้าง ซึ่งในการผสมสูตรที่มีสารชะล้างเยอะ มักจะเป็นสูตร Extended Life หรือ Long Life
เหมือนกรณีน้ำมันเครื่อง RED​LINE​ เกรด Racing ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในการแข่งขัน ในเครื่องยนต์กำลังสูง จึงจัดสูตรให้มีสารชะล้างน้อยเพื่อป้องกัน LSPI

ดังนั้นในกรณีรถบ้านจึงเตรียมการโปรโมทสูตรที่อยู่กึ่งๆกลางๆ ระหว่างใช้ได้ยาวๆ(มีสารชะล้างสูง)​ กับ สูตรกันลั่น555 (ลดสารชะล้างเพื่อลดความเสี่ยง LSPI)​ อยู่จุดไหนก็แล้วแต่จะเลือก
แต่สายลึก สายแรง ก็ RED​ LINE​ OIL​

#เรื่องใหม่ที่เก่าแล้ว
#redlineoil
#redlineoilThailand
#since1979
#ทำรถแพงๆเอาของดีๆใส่รถเถอะ

Friday, May 10, 2019

น้ำยาประกอบเครื่องยนต์ สำคัญฉไน

เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดคำถาม เวลามีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเข้ามา แม้ว่าจะไม่ใหม่ในตลาดต่างประเทศ การใช้น้ำยาประกอบเครื่อง หรือ จารบีประกอบเครื่อง (ซึ่งก็คือความหมายเดียวกัน) ทาลงไปบนชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ขณะประกอบเครื่องนั้น เดิมทีช่างจะเลือกใช้ น้ำมันเครื่อง เพราะมันปลอดภัย หากเผาไหม้ไม่หมดก็ไม่ไปอุดที่ ฝักบัวดูดน้ำมันเครื่อง แต่ข้อเสียก็คือมันไม่สามารถเกาะบนผิวโลหะหรือสร้างฟิลม์หล่อลื่นที่เพียงพอ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการสึกหรอ ตรงน้ีเลยแนะนำให้ใช้ น้ำยา/จารบีประกอบเครื่อง ซึ่งข้องดีของ RED LINE Liquid Assembly Lube และ Assembly lube คือใช้งานสะดวกและสามารถผสมเข้าไปกับน้ำมันเครื่องได้ดี ไม่ทำให้เกิดการตัน หรือ เกิดคราบโคลนในระบบ และสารสร้างฟิลม์เพียงพอที่เครื่องยนต์จะรันได้ไม่สึกหรอในช่วงแรกก่อนที่ระบบหล่อลื่นจะทำงาน 100%














ของ RED LINE จะมีสองแบบ คือเป็นขวดบีบ เนื้อเหลว คล้ายโลชั่น ง่ายต่อการใช้งาน คือบีบไปที่จุดที่ต้องการ และอาจจะใช้แปรงปาดทาให้ทั่ว ตัวนี้จะเป็น Liquid Assembly Lube ซึ่งตัวที่มีจำหน่ายจะมีความจุที่ 12oz (355mL)











อีกแบบจะเป็นตลับ Assembly Lube เนื้อเป็นครีมข้นกว่าหน่อย ลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกัน เพียงแต่ต้องตักทา ขนาดที่มีจำหน่ายคือ 4oz





Thursday, May 9, 2019

เกียร์กระปุก ใช้ น้ำมันเกียร์อะไรดี GL-4 หรือ GL-5



น้ำมันเกียร์ที่ใช้กับเกียร์ ก็ควรจะเป็นสูตรสำหรับเกียร์โดยเฉพาะ ไม่ใช่ใช้กับเฟื่องท้าย เพราะลักษณะการทำงานของเกียร์กับเฟื่องท้ายนั้นแตกต่างกัน เฟื่องท้ายต้องการ ความไหลลื่นของน้ำมันเพื่อช่วยนัยยะเพื่อช่วยระบายความร้อนด้วย แต่ในส่วนระบบซิงโครเมทของเกียร์นั้น มันไม่ได้ต้องการความไหลลื่นขนาดนั้น กลับต้องมี Friction Modify ให้เกิดความหนืดหน่วงเล็กน้อยเพื่อการเข้าเกียร์ที่นุ่มนวล

GL-4 หรือ GL-5 จะใช้อะไรดี?
สำหรับระบบซิงโครเมททองเหลืองในเกียร์ธรรมดานั้น การใช้น้ำมันเกียร์ GL-5 จะส่งผลให้เกิดการสึกหรอในส่วนของซิงโครเมท เนื่องด้วยสารเติมแต่งที่ใช้ในน้ำมันเกียร์ GL-5 เพื่อให้ GL-5 สามารถรับแรงกดกระแทกได้มากขึ้นมักจะกัดกร่อนระบบ ซิงโครเมททองเหลือง ซึ่งถูกใช้ในระบบเกียร์ซิงโครเมทส่วนใหญ่ในเกียร์ธรรมดา ในส่วนของ RED LINE OIL นั้นเรามีน้ำมันเกียร์ หลากหลายเบอร์ให้เลือกใช้ ตามความเหมาะสม
เกรด GL-4
MT-LV (70w/75w)
MTL (75w-80)
MT-85 (75w-85)
MT-90 (75w-90)
เกรด GL-5
75w-90ns
75w-140ns





นี่คือ RED LINE


Break-in มันจำเป็นไหม?

คำตอบง่ายๆ ถ้ามันไม่จำเป็นทำไมผู้ผลิตรถส่วนใหญ่จึงนัดเช็คตามระยะครั้งแรก ที่ 1000กิโลเมตร ทั้งๆที่เคมีในการหล่อลื่นมันอยู่ยาวถึง 10,000กิโลเมตร ส่วนสำคัญคือเป็นการตรวจสอบข้อบกพร่องก็เครื่องยนต์ ก่อนที่จะใช้งานเต็มพิกัด เราปฏิเสธไม่ได้ที่ว่าระบบการผลิตสมัยใหม่นั้นมีความแม่นยำสูง บางกลุ่มจึงพยายามออกมาสร้างกระแสว่า มันไม่จำเป็นเลยที่ต้อง Break-in เครื่องยนต์ เพราะความแม่นยำสูงในการผลิตข้อผิดพลาดย่อมต่ำ แต่พวกเขาเหล่านั้นลืมคิดถึงค่า clearance ที่ถูกบีบแคบลง เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สูงขึ้น คุ้มค่าต่อการใช้เชื้อเพลิงมากยิ่งขึ้น 

ในเมื่อเป็นเช่นนี้ การ Break-in มันเลยเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ใช้รถที่ต้องการจะยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ของแต่ละท่าน การ Break-in นั้นเปรียบเสมือนการเตรียมโลหะให้พร้อมใช้งาน เหมือนดั่งการที่เราต้องเตรียมกะทะก่อนไม่งั้นทอดไข่แล้วติด เพราะชิ้นส่วนนั้นเครื่องยนต์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใช้การเคลือบผิวสักเท่าไร การ Break-in จึงกลายเป็นขั้นตอนในการสร้างฟิลม์เคลือบผิวโลหะ การใช้ Red Line Oil Engine Break-in Additive ในขั้นตอนการ Break-in นั้นก็จะช่วยให้สาร ZDDP ไปเคลือบผิวชิ้นส่วนต่างในเครื่องยนต์ได้ ลดการสึกหรอ เพราะสาร ZDDP นั้นเปรียบเสมือนสารสร้างฟิลม์สุดท้ายก่อนที่โลหะจะสีกัน 
Red Line Oil Engine Break-in Additive สามารถใช้เติมต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มสาร ZDDP ในน้ำมันเครื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ Red Line Oil Engine Break-in Additive สามารถผสมเข้ากับน้ำมันเครื่องได้ง่าย เนื่องจากโดยปกติแล้ว สาร ZDDP เปรียบเสมือนสารเติมแต่งลดการสึกหรอทั่วไป ที่น้ำมันเครื่องหลากหลายยี่ห้อ ยังใช้เป็นสารเติมแต่งอยู่ โดยหากเป็นกลุ่มน้ำมันเกรด Racing นั้น ตัว ZDDP ก็จะสูงเพื่อการปกป้องที่มากกว่า






ประโยชน์ของน้ำมันเครื่องคุณภาพสูง


ประโยชน์ดีๆของน้ำมันเครื่องดีๆ ไม่ใช่เพียงแต่ผลของแรงม้ามากขึ้นใน Dyno แต่จุดสำคัญที่สุดของคนขับรถคือการตอบสนองที่ดี (throttle control) คุณภาพของน้ำมันเครื่อง Ester base แบบ Red Line Oil ช่วยทำให้เครื่องยนต์มีการตอบสนองที่ดีขึ้น เหยียบเป็นมา ลากรอบแล้วนิ่ง

การที่น้ำมันหนืดไป จะลดความสามารถในการชักขึ้นไปหล่อเลี้ยงระบายความร้อนเครื่องสักด้วยซ้ำ และอีกอย่างก็คือ การที่น้ำมันเครื่องเบอร์ไม่ตรง spec จะทำให้การที่อุณหภูมิน้ำมันเครื่องถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ช้าลง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาอุ่นเครื่องมากหรือเครื่องยนต์ก็จะอยู่ในช่วงระยะการปกป้องไม่สมบูรณ์เป็นเวลาสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้เบอร์น้ำมันเครื่องตาม spec โรงงาน หรือ ช่างจูนนิ่งเครื่อง ที่จะกำหนดค่า clearance ต่างๆกัน

ในความเห็นที่ว่าน้ำมันเครื่องเบอร์หนืด เหมาะกับ รถ turbo boost หนักๆ ก็เพราะในคุณลักษณะของน้ำมันเครื่อง เบอร์ใส จะมีการทานแรงดันต่ำกว่า แต่ตรงนี้ ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องคุณภาพสูง จุดพวกนี้ก็จะข้ามไป เพราะตัวน้ำมันเครื่องเองจะมีความสามารถในการคงสภาพในภาวะแรงดันสูงเหมือนแบบ สินค้าเกรด Racing ของ Red Line
credit ภาพจาก Red Line Synthetic Oil

https://www.facebook.com/Kptimport/
http://kptimport.co.th


ว่ากันเรื่อง Viscosity Index

ค่า Viscosity Index เป็นตัวชี้บอกความสามารถในการเปลี่ยนแปลงความหนืดตามสภาพอากาศ ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น และหนืดเพิ่มขึ้นที่อุณหภูมิลดลง ตัวน้ำมันเครื่องที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสูง ย่อมมีค่า Viscosity Index(VI) ที่สูง ซึ่งหมายถึงมีคุณสมบัติสามารถใช้ได้ในสภาวะอุณหภูมิที่แตกต่างได้มาก แต่นั้นคือตัวชี้บอกคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นจริงหรือ? ค่าสูงคือน้ำมันหล่อลื่นคุณภาพสูงใช่หรือไม่?
ตรงนี้คำตอบคือใช่และไม่ใช่ เนื่องจากในปัจจุบัน ค่า VI สามารถปรับแปลงได้โดยใช้สารเติมแต่ง (additive) ที่เรียกว่า Viscosity Index Improver (VIIs) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารเติมแต่งที่ใช้แพร่หลาย ดังนั้นจึงตอบได้ยากว่าค่า VI ชี้ถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่อง และสิ่งที่ผู้ใช้รถมักจะลืมคำนึงถึงคือ อุณหภูมิในสภาวะทำงาน(operating temp) คือเท่าไร สิ่งที่จะทำให้ได้ผลสูงสุดคือ การเข้าถึงอุณหภูมิสภาวะทำงานได้ไว เนื่องจากในส่วนผสมของ Additive ต่างๆ จะให้คุณภาพสูงสุดที่อุณหภูมิทำงานของรถ ซึงจะอยู่ที่ประมาณ 75-100 องศาเซลเซียส ซึ่งตรงนี้ โดยการเลือกเบอร์ความหนืดน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมนั้น เราจะสามารถสังเกตุผลได้จาก การใช้ระยะเวลาที่สั้นลงที่อุณหภูมิเครื่องจะมาอยู่ที่ operating Temp. ทำให้สาร Additive ทำงานได้ดีที่สุด และคงความร้อนอยู่ตรงนั้นจนมีการดับเครื่องยนต์

และเนื่องด้วยโดยปกติสาร additive จะเสื่อมคุณภาพไปก่อนตัว Base stock หรือ วัตถุดิบพื้นฐานในการผลิต จึงทำให้ค่า VI ของน้ำมันจะเกิดความแตกต่างตามระยะทางที่ใช้ และเป็นไปได้สูงที่ ค่า VI จากตอนเปิดขวด กับหลังวิ่งไปแล้ว 5,000 กิโล จะแตกต่างไป โดยจะอ้างอิงถึงตารางค่า VI ของ Basestock แต่ละชนิด